จำหน่ายแบตเตอรี่แห้ง, ไฟฉุกเฉิน, ป้ายไฟทางออก โคมไฟ หลอดไฟ, อุปกรณ์กันระเบิด สนใจสั่งซื้อโทร 02-755-7383 

การเลือกซื้อและใช้งานเครื่องไฟฉุกเฉิน

 

 

 

 

 

 

 

 

การเลือกซื้อและใช้งานเครื่องไฟฉุกเฉิน


                Emergency Light แบบ Complete set หรือโคมไฟฟ้าฉุกเฉินชุดเบ็ดเสร็จ Self-Contained Emergency Lighting ตัวเครื่องจะประกอบด้วย ตู้ตัวเครื่อง-แผงวงจรคอนโทรล-หลอดไฟ-และแบตเตอรี่สำรองไฟ ปัจจุบันหลอดไฟเป็นแบบ LED กินไฟน้อย ให้ความสว่างสูง แบตเตอรี่ที่ใช้ สำหรับรุ่นที่ต้องการความสว่างสูงและสำรองไฟนาน หรือรุ่นที่ราคาประหยัด มักจะใช้แบตเตอรี่แห้ง Sealed Lead Acid ส่วนรุ่นที่ต้องการให้มีน้ำหนักเบาและเวลารสำรองไฟไม่นานนักก็จะใช้ถ่านชาร์จ Ni-MH และล่าสุดเลือกใช้เป็นแบตเตอรี่ Lithium ทำให้เครื่องมีขนาดเล็ก น้ำหนักเบา สำรองไฟได้นานตามขนาดของแบตเตอรี่ และมีอายุการใช้งานของแบตเตอรี่ที่ยาวนานมากขึ้นถึง 4ปี ก่อนอื่นต้องพิจารณาแยกแยะว่าต้องการนำไปใช้กับพื้นที่ใด ต้องการความสว่างเป็นอย่างไร การสำรองไฟนานมากน้อยเท่าใด และความสะดวกในการติดตั้งใช้งาน

         

การพิจารณาเลือกใช้เครื่องไฟแสงสว่างฉุกเฉิน ควรพิจารณาตามความต้องการใช้งานดังนี้ 

- ใช้กับพื้นที่แบบใด เช่นในสำนักงาน อาคารทั่วไป หรือภายในอาคาร โรงงาน ติดตั้งให้แสงกระจายได้พอเหมาะ

- ต้องการความสว่างเป็นอย่างไร และระยะการติดตั้งห่างกันมากน้อยอย่างไร ขั้นต้นควรเลือกใช้เครื่องที่มีกำลังไฟส่องสว่างสูง 6-12 วัตต์ ขึ้นไป ให้เป็นไปตามข้อกำหยดของ วสท 2004 กำหนดค่าความสว่างไว้ที่ตรงกลางทางหนีไฟไม่น้อยกว่า 1Lux และรอบข้าง 1เมตรไม่น้อยกว่า 0.5 Lux ส่วนพื้นที่มีอุปกรณ์พยาบาล และอุปกรณ์ดับเพลิง ไม่น้อยกว่า 15 Lux ระยะรอบข้าง 1เมตร

- ต้องการสำรองไฟนานมากน้อยเพียงใด ควรเลือกการสำรองไฟได้นาน 2ชม.ขึ้นไปเพื่อให้สอดคล้องกับข้อกำหนดของการติดตั้งใช้งานตามข้อกำหนด วสท.2004-58

- การตรวจสอบการทำงานและบำรุงรักษาให้ทำทุกๆ 3เดือนโดยให้เครื่องทำงานจ่ายไฟนาน 30นาที และรายปี ให้เครื่องทำงาน 60นาที แล้วบันทึกผลการบำรุงรักษาเก็บไว้       

 

 

ข้อพิจารณาอื่น ๆ เพื่อที่จะเลือกใช้เครื่องไฟฉุกเฉินให้เหมาะสมกับพื้นที่ติดตั้งใช้งาน เช่น...

- พื้นที่ติดตั้งเครื่องอยู่สูงหรือห่างกันมากน้อยเพียงใด ควรเลือกเครื่องที่มีกำลังส่องสว่างให้เหมาะสม

- สภาพแวดล้อมเช่น อุณหภูมิปกติหรือไม่-มีความชื้น-มีฝุ่นละออกในพื้นที่อย่างไร

- การติดตั้งในบริเวณที่มีฝุ่นละอองมาก ควรเลือกเครื่องที่ปิดมิดชิดไมมีช่องให้ฝุ่นละอองเข้าได้ 

การติดตั้งภายนอกอาคาร ควรเลือกเครื่องที่มีการป้องกันน้ากันฝุ่นระดับ IP65  

การติดตั้งในพื้นที่ผลิดอาหารสภาพแวดล้อมชื้นและเย็น ควรเลือกแบบตู้ที่ไม่เกิดสนิมทำความสะอาดได้ง่าย

 

 

ส่วนข้อพิจารณาอื่น ๆ เพิ่มเติม เพื่อความสะดวกในการใช้งานและบำรุงรักษา

- การใช้งาน มี Remote Test ทดสอบการทำงานระยะใกลเพิ่มความสะดวกในการใช้งานและการบำรุงรักษา

  การทดสอบปกติ 3-5วินาที ทดสอบรายเดือน 30นาที และรายปี 60นาที        

- การใช้งานมี Automatic Test ทดสอบการทำงานอัตโนมัติ ช่วยยืดอายุการใช้งานแบตเตอรี่

มีระบบแจ้งเตือนปัญหา และระดับไฟของแบตเตอรี่ต่ำ

- และระบบเสริมอื่นๆ ที่จะทำให้ผู้ใช้งานได้สะดวก ตามความเหมาะสม

     มาตรฐานเครื่องไฟฉุกเฉิน อุปกรณ์ไฟฟ้าทั่วไปและเครื่องไฟฉุกเฉินต้องผ่านการทดสอบด้านสัญญาณรบกวน และได้รับมาตรฐาน มอก.1955-2551 จึงจะสามารถวางขายในบ้านเราได้ตามกฎหมาย ส่วนด้านคุณลักษณะของเครื่องไฟฉุกเฉินชุดเบ็ดเสร็จ จะต้องได้รับมาตรฐาน มอก.1102-2538 จึงจะทำให้เรามีความมั่นใจในการเลือกใช้งานให้เหมาะสมมากยิ่งขึ้น

     อายุการใช้งาน โดยปกติของแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์จะมีอายุการใช้งานประมาณ 5ปี หรือนานกว่าตามสภาพแวดล้อมและการใช้งาน ส่วน Battery จะมีอายุใช้งานโดยประมาณ 2-4ปี ดังนั้นควรมีการทดสอบการใช้งานและเปลี่ยนเมื่อหมดอายุการใช้งาน 

 

 

Visitors: 172,049